วันจันทร์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การเข้าเรียนครั้งที่9

วันที่ 27 ธันวาคม 2555


ไม่มีการเรียนการสอน 

หมายเหตุ ทำงานที่ได้รับหมอบหมายให้เรียบร้อย แล้วเจอกันปีหน้า 


การเข้าเรียนครั้งที่8

วันที่ 20 ธันวาคม 2555


   **ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจาก อยู่ในช่วงสอบกลางภาคเรียนที่2

อ่านไปก็ปวดหัวไป ฮ่าๆๆ
           
อ่ายหนังสือแล้วง่วงทันที ฮ่าๆๆ

วันอาทิตย์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การเข้าเรียนครั้งที่7

วันที่ 13 ธันวาคม 2555

กิจกรรมการเรียนการสอน

- เมื่ออาจารย์เข้ามาได้พูดถึงเรื่่อง การจัดอบรม 
- ความหมายของคำว่า คู่มืิอ 
              จากคำตอบของเพื่อนๆ คู่มือ หมายถึง บอกมาตรฐาน,บอกวิธีการ
              จากพจนานุกรม คุ่มือ หมายถึง  สมุดหรือหนังสือที่ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ต้อง
       การรู้เพื่อใช้ประกอบตํารา เพื่ออํานวยความสะดวกเกี่ยวกับการศึกษาหรือการปฏิบัติเรื่องใดเรื่องหนึ่ง  
       หรือเพื่อแนะนำวิธีใช้อุปกรณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง.
- มาตราฐาน คือ สิ่งที่น่าเชื่อถือ , บอกสิ่งนี้มีคุณภาพ , ยอมรับได้และเป็นแนวทางในการนำไปใช้
- คู่มือกรอบมาตราฐาน = เป็นตัวที่จะอธิบายและนำไปปฏิบัติใช้
- สสวท. ย่อมาจาก สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 

ประวัติศาสตร์การเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตก
อินโดนีเซีย              เคยเป็นอาณานิคมของประเทศเนเธอแลนด์ (ฮอลันดา)
ฟิลิปปินส์                เคยเป็นอาณานิคมของสเปน ต่อด้วยสหรัฐอเมริกา
- มาเลเซีย                 เคยเป็นอาณานิคมของประเทศอังกฤษ
สิงคโปร์                  เคยเป็นอาณานิคมของอังกฤษ
บรูไนดารุสซาลาม     เคยเป็นอาณานิคมของอังกฤษ
- พม่า                       เคยเป็นอาณานิคมของอังกฤษ
- เวียดนาม                 เคยเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส
- ลาว                        เคยเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศ
- กัมพูชา(เขมร)           เคยเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส
- ไทย                       ไม่เคยตกเป็นอาณานิคมของชาวตะวันตกชาติใด

 ภาษา+คณิตศาสตร์ = เป็นเครื่องมือในการสื่อสาร

กิ   กิจกรรมในชั้นเรียน

สาระที่ควรเรียนรู้
    1. เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
    2 .เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก
    3. ธรรมชาติรอบตัว
    4. สิ่งต่างๆ รอบตัวเด็ก

งานกลุ่ม ระดมความคิดในหัวข้อเรื่อง สิ่งต่างๆรอบตัว

ช่วยกันคิด??


หน่วย...สิ่งต่างๆรอบตัว

วันอาทิตย์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การเข้าเรียนครั้งที่6

วันที่ 6 ธันวาคม 2555

กิจกรรมการเรียนการสอน
     - ให้นำกล่องที่เตรียมมา วิเคาะห์เกี่ยวกับขอบข่าย


หลักการรับรู้ของเด็กปฐมวัย

             1. เรียนรู้ผ่านการเล่น    - การเล่นต้องใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 กระทำกับวัตถุ
                                                  - เล่นอย่างอิสระ สามารถตัดสินใจด้วยตัวเอง

             2. ครูจัดประสบการณ์ให้เด็ก    - เด็กจะทำตามแผนที่ครูกำหนดให้
                                                             - ทฤษฎีเพียเจต์ กล่าวว่า เด็กต้องลงมือทำกับวัตถุ


                   การเรียนรู้ คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปตามลำดับอย่างต่อเนื่อง
                   การจัดกิจกรรม ให้เหมือนกับฝาชี คือ ครอบคลุมให้เด็กได้พัฒนา

กิจกรรมที่สอดคล้องกับขอบข่ายของคณิตศาสตร์
         หน่วย กล่อง
1. ขนาดและรูปทรง
2. นับ
3. กำกับตัวเลข
4. จับคู่ = ขนาดที่เท่ากันโดยใช้เชือก ใช้นิ้ว ในการวัดหาค่า
5. เปรียบเทียบ
6. เรียงลำดับ
7. นำเสนอข้อมูล  = เปรียบเทียบจับคู่ 1:1
         Ex. นำเสนอข้อมูลโดยกราฟ
            อ้างอิง อ.เยาวพา 
สรุป กล่องเล็ก 2 กล่อง  กล่องใหญ่ 3 กล่อง
8. จัดประเภท = กล่องที่กินได้  ต้องใช้เกณฑ์เดียวเท่านั้น
9. พื้นที่ = กล่องนี้บรรจุดินน้ำมันได้กี่ก้อน (ดินน้ำมันต้องขนาดเท่ากัน)
10. การทำตามแบบ = วางกล่องเป็นแบบแล้วให้เด็กทำตามแบบ
11. เศษส่วน = ทั้งหมดทีกี่กล่ิอง นับจำนวน
             Ex. มีทั้งหมด 20 กล่อง
                   กล่องประเภทของกินได้ 8 กล่อง
                   กล่องประเภทไม่ใช่ของกิน 12 กล่อง
                   เพราะฉะนั้นกล่องประเภทของกินได้มี 8 กล่องของทั้งหมด
12. การอนุรักษ์ = การเปลี่ยนแปลงแต่ยังคงที่ คือ รูปทรงเปลี่ยนแต่ปริมาณไม่เปลี่ยน

เพิ่มเติม
    - ถ้ากล่องมี 6 ด้าน ให้เด็กเห็นได้ชัดโดยติดสติกเกอร์
            - ด้านที่ 1 ติด 1 อัน
            - ด้านที่ 2 ติด 2 อัน   ( ทำไปเรื่อยๆจนถึง 6 อัน )
   - กิจกรรมที่ทำได้อย่างอิสระ คือ เล่นตามมุม,ศิลปะ
   - กล่องสี่เหลี่ยมจตุรัสสามารถนำมาทำเป็นลูกเต๋าในการเล่นเกม

ทำกิจกรรมกลุ่มโดยแบ่งเป็น 2 ประเภท
      กลุ่มที่ 1 ให้ประกอบกล่องอย่างอิสระ ไม่ให้ปรึกษากันในกลุ่ม ให้ต่อของใครของมันไปเรื่อยๆ
      กลุ่มที่ 2 ให้ช่วยกันวางแผน สามารถปรึกษากันได้ในกลุ่ม

     กลุ่มของดิฉันได้ทำกิจกรรมแบบที่ 2 ช่วยกันวางแผน

ชื่อกิจกรรม หนอนน้อยเจ้าสำราญ
         สรุปการทำกิจกรรม
               ได้เล่นอย่างอิสระ ได้ช่วยกันออกความคิดเห็น มีความสามัคคี รับฟังความคิดเห็นของเพื่อนๆ

สั่งงานกลุ่ม (โดยทำจากวัสดุเหลือใช้)
   1. กล่องแบร์น
   2. แกนทิชชู (กลุ่มตัวเอง)
   3. ฝาขวดน้ำ

วันอาทิตย์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การเข้าเรียนครั้งที่5

วันที่ 29 พฤศจิกายน 2555



นำเสนองาน    งานคู่ เรื่องขอบข่ายของคณิตศาสตร์

หน่วยสัตว์

   1. การนับ          =    นับสัตว์ในสวนสัตว์  ตัวเลบมีไว้แทนค่า
   2. ตัวเลข          =    กำกับจากน้อยไปหามาก
   3. จับคู่              =    ต้องจับคู่ตัวเลขกับตัวเลข
   4. จัดประเภท    =    แยกประเภท เช่น สัตวืบกมีอะไรบ้าง
   5. เปรียบเทียบ  =    มากกว่าน้อยกว่า จากสัตวบกและสัตว์น้ำ
   6. จัดลำดับ      =    หาค่า เปรียบเทียบ จัดลำดับ
   7. รูปทรง          =    กรงของสัตว์ ที่อยู่ของสัตว์ 
   8. การวัด          =    วัดกรงของสัตว์ อาหารการกินของสัตว์ 
   9. เชต               =    กรงนก จะต้องใช้อุปกรณ์อะไรบ้าง จัดมา 1 ชุด เมื่อครบตามแบบแล้วจึงจะเป้น 1 เซต
  10. เศษส่วน        =    แบ่งครึ่ง จำนวนทั้งหมด  แบ่ง 4 ส่วนเท่าๆกัน
  11. การทำตามแบบหรือลวดลาย          =    ให้เด็กทำตามรปแบบที่มีให้ เช่น เซตของกรงนก 
  12. การอนุรักษณ์หรือการคงที่ปริมาณ   =    ปั้นดินน้ำมันเป็นรูปสัตว์ 

กลุ่มของดิฉันได้นำเสนอ หน่วยสัตว์ ข้อที่ 8 เรื่องการวัด


สมาชิกกลุ่ม
  1. นางสาว รัตติกาล  เด่นดี   รหัสนักศึกษา 5411201592
   2. นางสาว อลิสา      มานะ  รหัสนักศึกษา 5411201824


หน่วย ผัก
     


  1. การนับ                  =    นับตัวเลขซ้ำๆ
  2. ตัวเลข                  =   เรียงผักที่นับออกจากตะกร้า (ลำดับที่ 1,2,3,... ตามลำดับ)
  3. จับคู่                      =   จำนวนตัวเลข
  4. การจัดประเภท      =   แยกผักใบเขียวใส่ตระกร้า
  5. การเปรียบเทียบ    =   รูปทรง ขนาด จำนวน  นับแล้วจับคู่ 1 ต่อ 1 ออก ถ้าอันไหนเหลือแสดงว่ามากกว่า 
  6. จัดลำดับ                =   หาค่า เปรียบเทียบ เรียงลำดับ
  7. รูปทรงและเนื้อที่    =   ตะกร้าสี่เหลี่ยม  ใส่แครอทได้กี่หัว?


****การที่จะสอนเด็กต้องใช้เกณฑ์เพียง 1 เกณฑ์ เพราะจะทำให้เด็กเข้าใจง่าย

 ท้ายคาบของการเรียน อ. ให้เขียนความรู้สึกที่ได้เรียนในวันนี้

*** หมายเหตุ วันนี้ตอนที่นั่งเรียนมีอาการง่วงนอนเพราะพักผ่อนไม่เพียงพอ มีกิจกรรมที่ต้องทำเยอะ จึงทำให้รู้สึกเบื่อบ้าง     หันไปคุยกับเพื่อนบ้าง เพือที่จะคลายความง่วงออกไป และการเรียนการสอนวันนี้มันก็ดูแปลกๆ แต่ก็สามารถผ่านไปด้วยดี
        ความรู้ที่ได้รับในวันนี้มีประโยชน์และสามารถนำไปใช้ในอนาคตต่อไปได้ดี แต่ก็มีบางเรื่องที่เรียนไปยังไม่ค่อยเข้าใจ

วันเสาร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การเข้าเรียนครั้งที่4

วันที่ 22 พฤศจิกายน 2555

 
     การแบ่งกลุ่ม

          ใช้เวลาเป็นเกณฑ์


       อาจารย์แจกกระดาษ A4 แบ่งเป็นสี่ส่วน ให้นักศึกษาวาดสัญลักษณ์ของตัวเองและให้เขียนชื่อ
                                                          

        เมื่อวาดเสร็จให้เอาไปติดบนกระดาน ตามเกณฑ์การแบ่งกลุ่ม (อาจารย์ยกตัวอย่างกลุ่มที่ มาก่อน 08:30 น. )

       อาจารย์ถามเกี่ยวกับการจับกลุ่มเพื่อน ของนักศึกษาทั้งหมด ว่าใช้เกณฑ์อะไรในการแบ่งกลุ่ม
           - สนิทกัน คุยแล้วเข้าใจได้ง่ายขึ้น ทำอะไรร่่วมกันสะดวกสบาย




1.  การนับ  (Counting)
     ป็นคณิตศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็กรู้จัก เป็นการนับอย่างมีความหมาย เช่น การนับตามลำดับตั้งแต่ 1ถึง 10 หรือมากกว่านั้น

2.  ตัวเลข  (Number)
      เป็นการให้เด็กรู้จักตัวเลขที่เห็นหรือใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน ให้เด็กเล่นของเล่นเกี่ยว กับตัวเลขให้เด็กได้นับและคิดเอง โดยผู้เลี้ยงดูเด็กเป็นผู้วางแผนจัดกิจกรรม

3.  การจับคู่  (Matching)

       เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกต ลักษณะต่างๆ และจับคู่สิ่งที่เข้าคู่กัน เหมือนกันหรือ อยู่ประเภทเดียวกัน

4.  การจัดประเภท  (Classification)
      เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกตคุณสมบัติของ สิ่งต่างๆ ว่ามีความแตกต่าง หรือเหมือนกัน ในบาง เรื่อง และสามารถจัดเป็นประเภทต่าง ๆ ได้

5.  การเปรียบเทียบ  (Comparing)
      เด็กจะต้องมีการสืบเสาะและอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างของสองสิ่งหรือมากกว่า รู้จักใช้คำศัพท์ เช่น ยาวกว่า สั้นกว่า หนักกว่า เบากว่า

6.  การจัดลำดับ  (Shape and space)

      เป็นเพียงการจัดสิ่งของชุดหนึ่ง ๆ ตามคำสั่งหรือตามกฎ เช่น จัดบล็อก 5 แท่งที่มีความยาวไม่เท่ากันให้เรียงตามลำดับจากสูงไปต่ำ หรือจากสั่นไปยาง เป็นต้น

7.  รูปทรงและเนื้อที่  (Shape)
       นอกจากให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องรูปทรงและเนื้อที่จากการเล่นตาม ปกติแล้ว ผู้เลี้ยงดูเด็กยังต้องจัดประสบการณ์ให้เด็กได้เรียนรู้ เกี่ยวกับ วงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้า ความ ลึกตื้น กว้างและแคบ

8.  การวัด  (Measurement)
      มักให้เด็กลงมือวัดด้วยตนเอง ให้รู้จักความยาวและ ระยะ รู้จักการชั่งน้ำหนัก และรู้จักการประมาณอย่างคร่าวๆ ก่อน ที่เด็กจะรู้จักการวัด ควรให้เด็กได้ฝึกฝนการเปรียบเทียบและ การจัดลำดับมาก่อน

9.  เซต  (Set)
      เป็นการสอนเรื่องเซตอย่างง่าย ๆ จากสิ่งรอบ ๆ ตัว มีการเชื่อมโยงกับสภาพรวม เช่น รองเท้ากับถุงเท้าถือเป็นหนึ่งเซต หรือในห้องเรียนมีบุคคลหลายประเภท แยกเป็นเซตได้ 2 เซต คือ นักเรียน ผู้เลี้ยงดูเด็กประจำชั้น เป็นต้น


10.  เศษส่วน  (Fraction)
        ปกติการเรียนเศษส่วนมักเริ่มเรียนในชั้นประถม แต่ผู้เลี้ยงดูเด็กปฐมวัยสามารถสอนได้โดยเน้นส่วนรวมให้เด็กเห็นก่อน การลงมือปฏิบัติเพื่อให้เด็กได้เข้าใจความหมายและมีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับครึ่งหรือ ?


11.  การทำตามแบบหรือลวดลาย  (Patterning)
        เป็นการพัฒนาให้เด็กจดจำรูปแบบหรือลวดลาย และพัฒนาการจำแนกด้วยสายตาให้เด็กฝึกสังเกต ฝึกทำตามแบบ และต่อให้สมบูรณ์

12.  การอนุรักษณ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ  (Conservation)
        ช่วงวัย 5 ปีขึ้นไป ผู้เลี้ยงดูเด็กอาจเริ่มสอนเรื่องการอนุรักษ์ได้บ้าง โดยให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง เพื่อให้เด็กมีความคิดรวบยอดเรื่องการอนุรักษ์ที่ว่า ปริมาณของวัตถุจะยังคงที่ไม่ว่าจะย้ายที่หรือทำให้มีรูปร่างเปลี่ยนไปก็ตาม



หมายเหตุ งาน  
        ให้นักศึกษาขจับคู่ 2 คนเขียนกิจกรรมขึ้นมา 1 หน่วย โดยให้นำขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย ทั้ง 12 มาใช้ในการจัดกิจกรรม ส่งในคาบ

      

วันเสาร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การเข้าเรียนครั้งที่3


วันที่ 15 พฤศจิกายน 2555


คณิตศาสตร์

อาจารย์ให้จับกลุ่ม 3 คนแล้วเอาความรู้ที่ได้จากการค้นคว้ามาตั้งเป็น ความหมายของกลุ่ม ดังนี้ 

       คณิตศาสตร์ 
       เป็นศาสตร์ของการคิกคำนวน การวัด คือเลขคณิต พีชคณิต ตรีโกณมิติ และเรขาคณิต  มีการใช้สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์เป็นภาษาสากลอีกด้วย
       คณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือที่แสดงความคิดที่เป็นระเบียบ  มีเหตุผล  มีวิธีการ  และหลักการ  เพื่อให้
สามารถนำไปวิเคราะห์ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้  และเลือกใช้กลวิธีในการศึกษาให้เหมาะสม และ
สามารถนำความรู้เหล่านั้นไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเอง และประเทศชาติได้

       จุดมุ่งหมาย
        เพื่อให้ผู้เรียนรู้คุณค่าของคณิตศาสตร์  สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน มุ่งให้เกิดความรู้ และเข้าใจเกี่ยวกับหลักการของคณิตศาสตร์  ฝึกให้คิดตามลำดับเหตุผล ช่วยให้การ กำหนดการเรียนการสอนที่ชัดเจนผู้สอนจะต้องวัดพฤติกรรมผู้เรียนได้จากการสังเกตการกระทำที่เห็นได้  เช่น การเขียน การพูด การอ่าน การเขียนแผนภูิมิหรือกราฟการบันทึก

       ทฤษฎีการสอนคณิตศาสตร์ หรือ วิธีการสอน 
      เลือกวิธีการสอนให้เหมาะสมกับเนื้อหาสาระ และความสามารถของผู้เรียน  ควรใช้สื่อการสอนที่เป็นรูปธรรม  ผู้สอนควรจะต้องเตรียมการเีรียนการสอน ค้นคว้า เนื้อหาสาระ  ที่จะสอนใฟ้พร้อม 
วิธิการสอนมีดังนี้ 
        1. วิธีการสอนแบบอภิปราย
        2. วิธีการสอนแบบทดลอง
        3. วิธีการสอนแบบโครงการ
        4. วิธีการสอนแบบสอมถาม

      ขอบข่าย (เนื้อหาของคณิตศาสตร์)
         1. ตรรกศาสตร์
         2.  เซต
         3.  ระบบจำนวนจริง
         4.  ความสัมพันธ์ และฟังก์ชั่น
         5. จำนวน และฐาน
         6. การรวบรวมข้อมูล และนำเสนอข้อมูล
         7. การวัดค่ากลางของข้อมูล
         8. การวัดการกระจายของข้อมูล
         9. ทฤษฎีการติดสินใจ
        10. ทฤษฎีความน่าจะเป็น
        11. วิธีเรียงสับเปลี่ยน  วิธีจัดหมู่ และทฤษฎีบททวินาม

อ้างอิงมาจาก : หนังสือของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 
                               เทคนิคการสอนคณิตศาสตร์ ระดับประถม เล่ม 1

                                                                                           สมาชิกในกลุ่ม (พฤหัส เช้า)
                                                                                        น.ส.  รัตติกาล    เด่นดี     เลขที่ 9
                                                                                        น.ส.  สุภาภรณ์  ชุ่มชื่น    เลขที่ 12
                                                                                        น.ส.  กรกนก      ชินน้อย  เลขที่ 26



สรุป ภาษา+คณิตศาสตร์ เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสาร


วีธีการเก็บเด็กให้เข้ากลุุ่ม
      โดยการร้องเพลง กลุ่มไหน                   
                   

         ***อาจารย์สอนให้ร้องโดยการ ร้องตามที่ละวรรค เพื่อที่จะฟังเนื้อเพลงได้ชัดเจน***


         ***วันนี้ อ.ตรวจงานที่ให้เราไปค้นคว้ามา อ.แนะนำให้เขียนอ้างอิงทุกครั้ง และให้ปรับปรุงสิ่งต่างๆๆที่ยังผิดพลาดอยู่บ้างเล็กน้อย และก่อนออกจากห้อง อ.ตรวจเครื่องแต่งกาย นศ. ว่าถูกต้องตามระเบียบหรือไม่


วันเสาร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การเข้าเรียนครั้งที่2

วันที่ 8 พฤศจิกายน 2555

- อ.แจกกระดาษ
   เรียนเกี่ยวกับการแบ่งกลุ่ม
       แบ่งเป็น 2 กลุ่ม โดยใช้หลักเกณฑ์
       1. นับเลข 1 กับ 2
       2. จับฉลาก
       3. แบ่งตาม ผลสั้น-ผมยาว โดยมีหลักดังนี้ ผมสั้นต้องห้ามเลยบ่า ผมยาวต้องเลยบ่าลงไป
           ***การแบ่งกลุ่มจะต้องใช้หลักเกณฑ์และแบ่งให้เท่าๆกัน

    ในรอบตัวเรามีอะไรที่เป็นคณิตศาสตร์
        - จำนวน
        - รูปทรง
        - น้ำหนัก
        - ขนาด (ความยาว,ความกว้าง)
        - ปริมาณ
        - พื้นผิว
        - รูปแบบ


ตัวเลข คือ นับแล้วรู้ค่า
เลขเป็นสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ เลขฮินดูอาราบิก
การคำนวณของเด็กอนุบาลในแต่ละระยะไม่เหมือนกัน
สื่อที่ใช้กับเด็กจะต้องจับต้องได้



สมองทำงานอย่างไร?
    เด็กแรกเกิด-2 ปี พฤติกรรม เมื่อเห็นสิ่งของที่อยู่ใกล้ตัวก็จะเอามาดม เอาใส่ปากตัวเอง 



    
หมายเหตุ
    -  อ.สั่งงานให้ไป ห้องสมุด ไปศึกษาหาหนังสือที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ว่ามีอะไรบ้าง
    - หาความหมายของคณิตสาสตร์
    - หาจุดมุ่งหมายและเป้าหมาย
    - หาทฤษฎีการสอน
    - หาขอบข่าย





วันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การเข้าเรียนครั้งที่1

วันที่ 1 พฤศจิกายน 2555

    ข้อตกลงในการเข้าเรียน
         - เข้าเรียนเวลา 9:00 นาฬิกา มาช้า 15 นาทีถือว่า ขาดเรียน
         - เครื่องแต่งกายต้องแต่งให้ถูกตามระเบียบ แต่งให้เรียบร้อย

        ทักษะจะเกิดขึ้นก็ต่อมือ การที่เราได้ลงมือทำบ่อยๆหรือการฝึกฝนอยู่เป็นประจำ ได้มาจาก การ ฟัง พูด อ่าน เขียน 

        อาจารย์แจกกระดาษ  A4 ให้ตอบคำถาม 2 ข้อ
 1. ในความเข้าใจของนักศึกษา คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยคืออะไร?
        คือ การที่ให้เด็กคิดเลขในระดับที่ง่ายๆ ให้เด็กรู้จักตัวเลขเอราบิกและเลขไทย การจัดให้เด็กได้เล่น     เกมทางคณิตศาสตร์

2. นักศึกษาคาดว่าจะได้อะไรในวิชานี้?
        - ได้ประสบการณ์ในการสอน
        - ได้รู้จักการจัดกิจกรรมทางด้านคณิตศาสตร์
        - ได้รู้จักสื่อที่จะใช้กับเด็กทางคณิตศาสตร์

การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
แบ่งคำสำคัญได้ 3 อย่าง การจัดประสบการณ์,คณิตศาสตร์,เด็กปฐมวัย

เด็กปฐมวัยมีดังนี้
1. พัฒนาการ คือ การเปลี่ยนแปลงไปตามลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง

        1. พัฒนาการอย่างต่อเนื่อง

                     ด้านสติปัญญา ของเพียเจท์ 
                1. แรกเกิด-2 ปี เรียนรู้จากการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
                2. อายุ 2-6 ปี แบ่งเป็น 2 ช่วง ดังนี้
                      - 2-4 ปี การรับรู้ปละเรียนรู้ผ่านสิ่งต่างๆ
                      - 4-6 ปี สมองสามารถรับรู้สิ่งเดิมที่มีอยู่

         2. การเปลี่ยนแปลงตามลำดับขั้น

             พฤติกรรมที่เด็กเริ่มทำอย่างต่อเนื่อง พลิกตัว , คว่ำ , คืบ , คลาน , นั่ง , ยืน , เดิน , วิ่ง

2. วิธีการเรียนรู้

          การเรียนรู้ คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
          การรับรู้  คือ การรับประสบการณ์ใหม่ๆ จากที่ที่กระทำกับประสาทสัมผัสทั้ง 5 (การเข้าใจ)
          เด็กจะเรียนรู้จากการลงมือกระทำกับวัตถุด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 
          การเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากประสบการณ์ มีโอกาสได้ปฏิบัติ ประสบการณ์จึงมีความสำคัญไปสู่การ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

          การเรียนรู้และการรับรู้มีความสัมพันธ์กัน คือ
         ประสบการณ์ใหม่สัมพันธ์กับประสบการณ์เดิมส่งผลให้เกิดการเรียนรู้ ปรับองค์ความรู้ใหม่ที่ทำให้คนเราเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม