วันจันทร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556

สื่อกลุ่ม



"สื่อคณิตศาสตร์    >>   ทำจากแกนกระดาษทิชชู่"


           "แผ่นชาร์ต   >>   แผนภูมิรูปภาพ"




      "ภาพถ่ายกับชิ้นงาน"


วันอาทิตย์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2556

สรุปงานวิจัย





ของ
คมขวัญ อ่อนบึงพร้าว

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ




สรุปอภิปรายผล และ ข้อเสนอแนะ

          ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองที่มุ่งศึกษาการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
ของเด็กปฐมวัยโดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ เพื่อเป็นแนวทางให้ครูและ
ผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาปฐมวัยได้ประโยชน์ ในการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
ให้แก่เด็กอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กต่อไป

สมมติฐานในการวิจัย

         เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดรูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้มีพัฒนาทักษะ
พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ก่อนและหลังการทดลองแตกต่างกัน




ขอบเขตการวิจัย
          ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย

          ประชากรที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้เป็นนักเรียนระดับปฐมวัย ชาย – หญิง อายุระหว่าง
5 – 6 ปี ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2549 โรงเรียนสาธิต
อนุบาลละอออุทิศ กรุงเทพมหานคร สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จำนวน 10 ห้อง




ภาคผนวก




วันอังคารที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2556

การเข้าเรียนครั้งที่16

วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2556

กิจกรรมการเรียนการสอน

- อาจารย์ให้นักศึกษาทุกคนเข้าร่วมกิจกรรม "โครงการ ส่งเสริมการใช้แก้วน้ำส่วนตัว" ณ.ลานแดง


-  อาจารย์พูดถึง"ลายมือ" >> ให้เขียนให้สวยและเรียบร้อย
-  อาจารย์นำภาพที่เป็นผังมโนทัศน์ในการนำเสนอข้อมูลคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยมาให้นักศึกษาดู
- เพื่อนกลุ่มที่3 "สอบสอน หน่วย ธรรมชาติ"

        Comment จากอาจารย์
                การที่จะสอนวันจันทร์ ไม่ควรใชนิทานมาเป็นการสอนวันแรก เพราะนิทานต้องเป็นเรื่องของ   
        ประโยชน์ของเรื่องนั้นๆ


- เพื่อนกลุ่มที่ 4 "สอบสอน หน่วย ผม"
   
           วิธีการสอน
      วันจันทร์ :  ชนิดของผม
         - เอามือจับหัว  จับไหล่  จับเอว จับหัว  
         - ใช้คำถามเชิญชวน "เด็กๆลองสัมผัสดูสิค่ะว่าเด็กๆจับอะไรอยู่"??

          ข้อเสนอแนะจากอาจารย์ผู้สอน
       1. การเปรียบเทียบต้องเป็นชนิดเดียวกัน แต่ต้องมีจุดเด่นของสิ่งนั้นๆ
       2. นำเสนอข้อมูล            -  วันจันทร์         ลักษณะของผม >> Mapping (ทำสถิติความชอบของเด็ก ผมสั้น,ผมยาว)
            -  วันอังคาร        หน้าที่ของผม >> นิทาน 
            -  วันพุธ              ประโยชน์และข้อควรระวัง >> การเปรียบเทียบ
            -  วันพฤหัสบดี    วิธีดูแลรักษา >> แตก Mapping แสดงขั้นตอนของการดูแลรักษา
            -  วันศุกร์             อาชีพที่เกิดจากผม  >>  แตก Mapping 




 แผนการสอนที่ตัวเองได้รับมอบหมาย


    หน่วย........น้ำ   วันพฤหัสบดี......เรื่องคุณสมบัติของน้ำ 

สื่อที่ใช้ในการสอน



สาระสำคัญ
มาตรฐานคณิตศาสตร์
บูรณาการ
คุณสมบัติของน้ำ
1. เปลี่ยนรูปร่างตามภาชนะ
2. ไหลจากที่สูงลงที่ต่ำ
3. เปลี่ยนสถานะ
      - ระเหยกลายเป็นไอ
      - ของแข็ง
      - ของเหลว

สาระที่ 2 การวัด
   - ปริมาตร

สาระที่ 3 เรขาคณิต
- รูปทรงเรขาคณิตสองมิติ








   1. ครูทบทวนความรู้ของเมื่อ-วาน "ใช้คำถามในการถามเด็ก"
   2. ครูเตรียมอุปกรณ์ที่นำมาสอนเด็กๆ แล้วเชื่อมโยงเข้าสู่บทเรียนโดยใช้คำถามว่า "เด็กๆคิดว่ามีอะไรอยู่ในตะกร้าค่ะ" เพื่อให้เด็กรู้จักการคาดคะเน
   3. ครูหยิบของออกมาให้เด็กๆเปรียบเทียบลักษณะของแก้วน้ำทั้ง 2 ใบ ใช้คำถามว่า "เด็กๆคิดว่าแก้วทั้งสองใบมีรูปทรงต่างกันอย่างไรค่ะ"                                          
   4. ทดลองเทน้ำในใส่แก้วทั้งสองใบ ปริมาณน้ำเท่ากัน "ใช้คำถามว่า เด็กๆคิดว่าน้ำทั้งสองแก้วมีปริมาณเท่ากันหรือไม่ค่ะ"
  5. การเปลี่ยนสถานะของ "เด็กๆรู้หรือไม่ค่ะว่าน้ำมีการเปลี่ยนแปลงสถานะได้" อธิบายให้เด็กฟัง
   6. สรุป "เป็นการอนุรักษ์"
การเปลี่ยนแปลงแต่ยังคงที่ คือรูปร่างเปลี่ยนแต่ปริมาณไม่เปลี่ยน



วันจันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การเข้าเรียนครั้งที่15

วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2556

กิจกรรมการเรียนการสอน

- สอบสอนแบบบูรณาการ โดยอ้างอิงมาตรฐานการเรียนรู้จากกรอบมาตรฐาน
 
  การสอนของเพื่อนกลุ่มที่2 หน่วย ต้นไม้

วันจันทร์ >> ชนิดของต้นไม้

- เปิดประเด็นโดยใช้คำถาม "ที่บ้านของเด็กปลูกต้นไม้อะไรบ้างค่ะ"
- ต้นไม้ที่นำมาสอน ไม้ยืนต้น(ต้นมะขาม)  ไม้ล้มลุก(ผักชี)
- แยกประเภท > แยกขนาดของลำต้น
- อาจจะให้เด็กๆนับต้นไม้ยืนต้น และล้มลุก

วันอังคาร >> ลักษณะของต้นไม้

- ทบทวนของเมื่อวาน "เด็กๆรู้จักต้นไม้อะไรบ้างค่ะ"
- เอาต้นไม้ ยืนต้น(มะขาม) และ ล้มลุก(ผักชี) มาให้เด็กดูที่ละประเภท
- วาดตารางเปรียบเทียบ


วันพุธ >> ส่วนประกอบของต้นไม้
   
    - ทบทวนของเมื่อวาน
ส่วนประกอบของตันไม้
- บอกหน้าที่ของส่วนต่างๆ ราก,ลำต้น,ใบ,ผล,ดอก
- ใช้คำถาม "เด็กอยากปลูกต้นไม้ชนิดใดบ้างค่ะ"
- นำเสนอเป็นกราฟ การเปรียบเทียบ
   จับคู่ 1:1

                                                             10   >    8

                                         สรุป เด็กอยากปลูกดอกมะลิ มากกว่า กุหลาบ 2 คน


วันพฤหัสบดี >> ประโยชน์ของต้นไม้

- ทบทวนของเมื่อวาน
- การเล่านิทาน 
- ถาม "เด็กๆค่ะ ต้นไม้มีประโยชน์อย่างไรบ้าง"
   
วันศุกร์ >> อันตรายที่เกิดจากต้นไม้

- ภาพเหตุการณ์ต่างๆที่เป้นอันตราย
- พาเด็กๆไปทดลองของจริง

ผึ้งทำรังบนต้นไม้
หนามของต้นไม้

ยางมะม่วง

วันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การเข้าเรียนครั้งที่14

วันที่ 31 มกราคม 2556

กิจกรรมการเรียนการสอน

-  สอบสอนแบบบรูณาการ โดนอิงมาตรฐานการเรียนรู้จากกรอบมาตรฐาน
   
   การสอนของเพื่อนกลุ่มที่ 1 หน่วยดิน

วันจันทร์ >> ชนิดของดิน

 - การตั้งคำถามเปิดประเด็น "เด็กๆเคยเล่นดินอะไรบ้างค่ะ" (เพื่อทดสอบประสบการณ์เดิม)
                  การดึงประสบการณ์ของเด็ก
                1. แบ่งความรู้
                2. มีส่วนร่วม
                3. คิดถึงเหตุการณ์
- เขียนลงบนกระดานตามที่เด็กบอก (การเขียนต้องยึดเลขฐานสิบ)
         **ควรไว้ใจในการตอบคำถามของเด็ก
- เขียนตัวเลขกำกับ แล้วใช้คำถามว่า "ทั้งหมดมีกี่ชนิดค่ะ"
- ให้เอา ดินร่วน  ดินทราย ดินเหนียว มาสอนเด็ก
- การสอนจะต้องมีการคาดคะเนและเชื่อมโยงเข้าสู่บทเรียน โดยที่ครูจะนำดินใส่ตระกร้ามา แล้วจะถามเด็กๆว่า "เด็กๆคิดว่ามีอะไรอยุ่ในตระกร้าบ้างค่ะ"
- ในตระกร้าครูเอาดินทราย ดินเหนียวมา "เด็กๆทราบไหมว่าดินมีจำนวนเท่าไหร่"
- นับแยกประเภท
- เปรียบเทียบโดยการยิบออก 1:1

วันอังคาร >> ลักษณะของดิน

- ทบทวนของเมื่่อวาน
- วันนี้ครู้ต้องเตรียมดินมาให้เด็กๆดู (ให้เด็กสังเกต,สัมผัส)
- เขียนตาราง


- นำเสนอเป็นแผนภูมิวงกลม ยูเนียลเชื่อมโยงกัน(อินเทอร์เซค)



วันพุธ >> ส่วนประกอบของดิน

- ทบทวนของเมื่อวาน "อาจจะถามว่าดินเหนียวมีสีอะไรบ้างค่ะ"
- ครูเตรียมสิ่งของที่อยู่ในดินมา เช่น เปลือกหอย เศษไม้ กิ่งไม้ ก้อนหิน ฯลฯ
- ให้เด็กๆ แยกประเภท สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต

       ทำเป็นตาราง


วัพฤหัสบดี >> ประโยชน์ของดิน

- ทบทวนของเมื่อวาน
- เล่นนิทาน
      **ต้องเป็นนิทานที่เชื่อมโยงกับคณิตศสาตร์ และ เชื่อมโยงกับเนื้อหาที่สอน
- อาจใช้เพลงประกอบได้


วันศุกร์ >> ข้อควรระวัง
   
- ทบทวนของเมื่อวาน (สิ่งที่อยู่ในดิน)
- อธิบายให้เด็กฟัง ดินมีเชื้อโรคอย่างไร
-  อาจจะใช้นิทานหุ่นมือ

    **ข้อควรระวังอาจจะไปอยู่ในวันพฤหัสบดี แล้ว วันศุกร์ ให้เด็กๆออกไปปลูกพืช
-การปลูกพืชก็จะสอนในคณิตศาสตร์เรื่อง ระยะห่างของต้นไม้แต่ละต้นห่างกัน 1 ฝ่ามือ


จบการเรียนการสอนในวันนี้ค่ะ 

การเข้าเรียนครั้งที่13

วันที่ 24 มกราคม 2556

กิจกรรมการเรียนการสอน

-   วันนี้อาจารย์พูดคุย ถามความคิดเห็นนักศึกาาเกี่ยวกับ "บายเนียร์"
-  สาระสำคัญในหน่วยการเรียนรู้ที่ตัวเองสร้างขึ้น  ให้แยกออกเป็น  5  วัน 


-   อธิบาย มาตรฐาน ในหัวข้อ คุณหมอ (กลุ่มเพื่อน)
       1. การนับ
       2. การอ่าน
       3. เปรียบเทียบ
       4. การเรียงลำดับ
       5. การแยกกลุ่ม >> หมอฟัน หมอทั่วไป
-   หลักในการเลือกหน่วย
       1. ต้องใกล้ตัวเด็ก
       2. ผลกระทบที่เกิดกับเด็ก
       3. กิจวัตรประจำวันของเด็ก

       เช่น หน่วยผม
               -   แตกหน่วยเป้นสาระการเรียนรู้
                       น้ำ               >>         แหล่งน้ำ
                       ดิน               >>          ชนิดของดิน
                       ผม               >>          ประเภท
                       ครอบครัว     >>          สมาชิกในครอบครัว
              -   สาระสำคัญ (คิดวิเคราะห์)     >>    เด็กเกิดประสบการณ์สำคัญ   >>    เด็กได้ใช้
                   ประสาทสัมผัสทั้ง5    >>     เด็กได้ลงมือกระทำจริง     >>  เด็กเกิดวิธีการเรียนรู้
              -   ตามหลักทฤษฎีของเพียเจต์ การสอนในแต่ละวันจะแค่ 2o นาที เพราะเด็กสามารถรับรู้เพียง
                   เล็กน้อย
           


 หมายเหตุ  

     วันพฤหัสบดีที่  31  มกราคม  2556   Present การแยกสาระสำคัญในหน่วยต่างๆออกมาบูรณาการในการสอนคณิตศาสตร์ปฐมวัย



การเข้าเรียนครั้งที่12

วันที่ 17 มกราคม 2556


กิจกรรมการเรียนการสอน

-  สร้างกิจกรรมทางคณิตศาสตร์ให้สอดคล้องกับหน่วยสาระที่ตัวเองสร้างขึ้น
 สาระ  มาตรฐานการเรียนรู้  และตัวชี้วัดคณิตศาสตร์ปฐมวัย

         สาระที่  1  :  จำนวนและการดำเนินการ

         สาระที่  2  :  การวัด

                             -  จะต้องนึกถึงเครื่องมือ
                             -  การวัดจะแบ่งเป็น 3 แบบ
                                1. วัดจากระดับสายตา ความยาว ขนาด น้ำหนัก ระยะทาง เวลา เงิน
                                2. สร้างเครื่องมือกึ่งทางการ ฝ่ามือ คืบ ศอก นิ้ว
                                3. สร้างเครื่องมือทางการ ตลับเมตร ไม้บรรทัด
                             -  เมื่อวัดแล้วจะได้ค่า
                             -  นำมาเปรียบเทียบ
                             -  จับคู่ 1:1 ออก
                             -  นำเสนอเป็นกราฟ





         สาระที่  3  :  เรขาคณิต

         สาระที่  4  :  พีชคณิต

         สาระที่  5  :  การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น

         สาระที่  6  :  ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

                ตัวอย่าง   ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์  โดยมีตะเกียบเป็นสื่อในการเรียนรู้

  การสอนเลขฐานสิบ




-  เวลาเราจัดประสบการณ์ให้กับเด็กจะต้องเป็นเรื่องที่ใกล้ตัว และ เป็นเรื่องที่อยู่ในกิจวัตรประจำวัน
-  การจัดกิจกรรมการสอนแต่ละเรื่องต้องมี สาระสำคัญ กับ ประสบการณ์สำคัญ
-  พัฒนาการเป็นเป้าหมายในการจัดกิจกรรมให้กับเด็ก
-  จากการจัดกิจกรรมข้างต้น  เด็กเกิดการคิดรวบยอด (concept) ว่า "ตัวเลขหลักหน่วยจะเพิ่มขึนเรื่อยๆ เมื่อจำนวนนั้นครบ  10  ถ้าครบ 10  แล้วก็ปัดจำนวนไปหลักข้างหน้าเสมอ"



หมายเหตุ

      งานกลุ่ม ที่ได้รับมอบหมาย  ผลิตเครื่องมือวัดแบบต่างๆ นำเสนอออกมาเป็นกราฟรูปภาพ